One Health in the virture park: มุมมองการแก้ปัญหาฝุ่นควันมลพิษที่เป็นรูปธรรม (PM2.5)
คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ ในนามภาคประชาสังคม ในปี 2567 เน้นการจัดการไฟป่า ด้วยการทำงานร่วมกันของภาคประชาสังคม ภาครัฐและชุมชน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในจ.เชียงใหม่ จะเป็นป่า โดยการแก้ปัญหาไฟป่า ด้วยการสร้างการรับรู้ของสังคมด้านข้อมูล สื่อสนับสนุนปฏิบัติการ การรณรงค์การปลดปล่อยมลพิษ และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ
การแก้ปัญหาจัดการฝุ่นควันมลพิษจะต้องเกิดจากการทำงานร่วมกัน ต้องมีส่วนร่วมแล้วเข้าใจกันและกัน จากบทเรียนที่ได้รับ ต้องมีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ สภาพกายภาพ ของพื้นที่นั้นๆ โดยการทำงานและวางเป้าหมายร่วมกัน จะต้องมีการพูดคุยกันให้ได้มากที่สุด ลงมือวางแผนในระดับพื้นที่ เพื่อร่วมการดับไฟป่าและลดการเกิดไฟป่า รวมถึงการรวมรวมข้อมูลการทำงานในแต่ละปีเพื่อหาจุดอ่อนในการทำงาน
ถึงแม้มีการจัดการปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ได้ ในส่วนของฝุ่นควันข้ามแดนมา จังหวัง ภูมิภาค หรือประเทศ ก็ยังเป็นปัญหาที่จะต้องช่วยกันด้วยเชิงนโยบาย และสภาลมหายใจเห็นด้วยว่าควรมีกฎหมายอากาศสะอาด ด้วยการผลักดันให้เป็นกฎหมายที่นำมาใช้ปฏิบัติการได้
รศ. ดร. ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการแก้ปัญหาฝุ่นควันมลพิษ สิ่งที่เราควรจะแก้หลักๆที่มีความเป็นไปได้และกำลังดำเนินการอยู่คือ การแก้นโยบาย รวมไปถึงการแก้ทางธรรมชาติ พฤติกรรม หรือสุขภาพ โดยนโยบายต่างๆไม่ว่าจะเป็นการปรับลดค่ามาตฐานฝุ่น พ.ร.บ.อากาศสะอาด หรือมาตรการต่างๆ ที่ทางรัฐบาลมีการผลักดันนำมาปรับใช้นั้น ยังขาดการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ พ.ร.บ. หรือมาตรการต่างๆ ว่าสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่นควันได้จริงหรือไม่ ซึ่งหากสามารถระบุได้ว่า พ.ร.บ ใด หรือมาตรการใดที่สามารถช่วยให้ฝุ่นควันลดลงไปได้ อาจจะมีการนำมาใช้จัดการปัญหาฝุ่นควันมลพิษนี้ได้อย่างถูกต้องต่อไป
ความยั่งยืนของการจัดการปัญหา ในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย จะให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ซึ่งควรมองย้อนว่าการจัดการปัญหาเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อาจจะต้องมองแนวทางในการจัดการปัญหาเหล่านี้ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าสุดท้ายแล้วจะเกิดเป็นการจัดการปัญหาอย่างยั่งยืน
ผศ.ดร. นิอร สิริมงคลเลิศกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
งานวิจัยด้านฝุ่นควันนี้เกิดจากข้อสงสัยที่ว่าฝุ่นควันที่เกิดนี้ เกิดจากอะไรบ้างหรือมีที่มาจากแหล่งใด โดยเริ่มจากงานวิจัยการเผาไหม้ในลุ่มน้ำโขง ซึ่งพบว่าเกิดการเผาไหม้ที่ไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่ปี 2018-2020 ต่อเนื่องแบบเดิมจนถึงปัจจุบัน เมื่อศึกษาการวิเคราะห์พื้นที่เกิดไฟซ้ำซากในจ.เชียงราย พบว่ามีบางอำเภอที่พบการเผาใหม้สูงเป็นประจำทุกปี และสัมพันธ์กับค่าฝุ่นที่เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อลงพื้นที่สำรวจพบว่าการเผาเกิดจากการทำนาข้าวและการเกษตรแบบเชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง โดยเกิดเป็นวงจรแบบเดิมซ้ำๆ ซึ่งในปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ลดลงแต่ผู้คนเกิดการรับรู้ของสถานการณ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาครัฐไม่ได้เพิกเฉยเรื่องปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้น แต่เกิดจากข้อจำกัดของทรัพยากรณ์คนและงบประมาณ จึงได้มี ถอดบทเรียนร่วมกันว่าข้อจำกัดของการเข้าหาไฟคือเจ้าหน้าที่ต้องการรู้จุดที่เกิดการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว โดยหากสามารถรู้เส้นทางการเข้าไปถึงจุดที่เกิดการไหม้ได้ด้วยจะดียิ่ง จึงเกิดเป็นแอพพลิเคชั่น Chiang Rai Hotspot ที่ดึงข้อมูล Hotspot จากภาพถ่ายดาวเทียมด้วยการสังเกตการณ์การเกิดไฟจากการใช้แอพพลิเคชั่นนี้และกระจายเทคโนโลยีนี้ไปแต่ละอำเภอ โดยผลจากการทำงานทำให้พื้นที่เผาไหม้ลดลง เพราะเจ้าหน้าที่เข้าถึงจุดเกิดไฟได้เร็วยิ่งขึ้น และในปัจจุบันยังมีได้มีการให้ลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบการอนุญาตเพื่อดูความจำเป็นในการเผาแต่ละครั้งก่อน เพื่อปักหมุดว่าการเผานั้นจะส่งผลต่อค่าฝุ่นมลพิษอย่างไร รวมไปจนถึงมีการรับซื้อเชื้อเพลิงเหล่านั้นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันยังเจอปัญหาควันข้ามแดนจากแดนต่างๆ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันในหลายภาคส่วนด้วยเช่นกัน
การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและการมองถึงความเป็นจริงของปัญหา มาศึกษาร่วมกันเพื่อให้เกิดการแก้ไขที่เป็นไปอย่างถูกทิศถูกทาง
คุณภัธรียา เกตุสิน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนวญการพเศษ กรมควบคุมโรค กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากข้อมูลในแต่ละปีที่ผ่านมา ปี 2567 จึงมีมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ โดยมุ่งเป้าไปในพื้นที่หลักก่อน เนื่องจากข้อจำกัดทางงบประมาณฯ โดยแบ่งเป็น ภาคเหนือ 17 จังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง โดยควบคุมให้ได้ 50% ของพื้นที่ เพื่อทำให้ปัญหาฝุ่นควันลดลง แต่ยังคงไม่ทิ้งพื้นที่อื่นๆที่จะต้องมีการควบคุมดูแล และเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันให้เป็นรูปธรรมจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน โดยมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน โดยมีการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ รวมไปถึงการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ลาวและพม่า เพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยี ผ่านโครงการ Clear sky มีเป้าหมายเพื่อการลดความร้อนแต่ละจุดในของแต่ละประเทศ ให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน และในปี 2567 ได้มีการพัฒนาศูนย์สื่อสารแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อให้ประชาชนทราบถึงการดำเนินงานเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันรวม การสื่อสารแจ้งข่าวสาร ไปถึงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และยังมีการวิเคราะห์อิทธิพลปัญหาฝุ่นควันในแต่ละพื้นที่ว่าเกิดจากสาเหตุใดบ้าง และส่งผลวิเคราะห์ให้ทางสำนักงานจังหวัดเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป